Background



ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
14 กันยายน 2566

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ขององค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

  1. ด้านกายภาพ

       1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล

                      เหตุที่ได้ชื่อ “ลาโละ”  เพราะได้ชื่อมาจากต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ชื่อว่า  ต้นลาโละ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งราษฎรเคารพนับถือในอภินิหาร กล่าวคือ เมื่อราษฎรมีปัญหาทุกข์ร้อนเรื่องต่าง ๆ เมื่อบนบานกับต้นไม้ดังกล่าวแล้วความทุกข์ร้อนจะหายไป ความมีชื่อของต้นลาโละ ทำให้ราษฎรเรียกชื่อต่อกันมาแต่โบราณ เป็นชื่อของหมู่บ้านที่ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ คือ หมู่ที่ 5 บ้านลาโละ ในปัจจุบันและเป็นชื่อเรียกของตำบลลาโละด้วย

                องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  1  ใน  9  องค์การบริหารส่วนตำบลของ เขตอำเภอรือเสาะ  ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ   ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส อยู่ห่างจากอำเภอรือเสาะ ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ประมาณ 43 กิโลเมตร ปัจจุบันมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของหมู่ที่ 1 – 9 ของตำบลลาโละ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ  37,208 ไร่ หรือ (59.53 ตารางกิโลเมตร)

              แบ่งเป็น หมู่ที่ 1 มีเนื้อที่ประมาณ 3,793.75   ไร่  หรือ 6.07     ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 2 มีเนื้อที่ประมาณ 2,553.125 ไร่  หรือ 4.085   ตารางกิโลเมตร  

                        หมู่ที่ 3 มีเนื้อที่ประมาณ 2,568.75   ไร่  หรือ 4.11     ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 4 มีเนื้อที่ประมาณ 5,800        ไร่  หรือ 9.29     ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 5 มีเนื้อที่ประมาณ 3,312.50   ไร่  หรือ 5.3       ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 6 มีเนื้อที่ประมาณ 2,537.50   ไร่  หรือ 4.06     ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 7 มีเนื้อที่ประมาณ 4,034.357 ไร่  หรือ 6.455   ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 8 มีเนื้อที่ประมาณ 7,056.25   ไร่   หรือ 11.29  ตารางกิโลเมตร

                        หมู่ที่ 9 มีเนื้อที่ประมาณ 3,625        ไร่   หรือ 5.8      ตารางกิโลเมตร

                    ซึ่งนับว่าเป็นตำบลค่อนข้างเล็ก โดยได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ เมื่อ วันที่  19 มกราคม พ.ศ. 2539

1.2  ลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขต

        ลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบเนินเชิงภูเขาเหมาะแก่การทำการเกษตรประเภทสวนยางพาราและสวนผลไม้ บางส่วนพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนาข้าว มีแหล่งน้ำธรรมชาติประเภทลำห้วย บึง และสายธารเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ตำบล มีฝายพระราชดำริ บ้านกูยิ และบ้านทุ่งบาโงของกรม ชลประทาน ทำประปาภูเขาส่งน้ำให้ราษฎรใช้เป็นน้ำอุปโภคและทางการเกษตรบางส่วน ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบล   มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ   ป่าอุทยานแห่งชาติน้ำตกซิโป และที่สาธารณประโยชน์บางพื้นที่เป็นต้นกำเนิดของสายธารเล็ก ๆ

มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

                ทิศเหนือ            ติดต่อกับตำบลสามัคคี  

                ทิศใต้                ติดต่อกับตำบลเชิงคีรี    อำเภอศรีสาคร

                ทิศตะวันออก       ติดต่อกับอำเภอศรีสาคร และ อำเภอระแงะ             

                ทิศตะวันตก        ติดต่อกับตำบลรือเสาะออก และ ตำบลรือเสาะ

แผนที่แสดงที่ตั้งบริเวณตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

                 

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ    

      ลักษณะสภาพอากาศมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่าง เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีความแปรปรวน บางปีอาจจะมีภาวะฝนทิ้งช่วงและอาจเกิดอุทกภัยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ในบางปีมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ทำให้มีลักษณะอากาศร้อนชื้น และในเวลากลางคืนอากาศค่อนข้างเย็นฝนจะตกชุกมากในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

1.4 ลักษณะของดิน

      ลักษณะของดินในพื้นที่โดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

        -แม่น้ำ                                     -             แห่ง

        -ห้วย,หนอง,คลอง,บึง                  12            แห่ง

      แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

        -อ่างเก็บน้ำ                          5            แห่ง

        -ฝายกั้นน้ำ                           6            แห่ง

        -บ่อน้ำตื้น                       1,358          แห่ง

        -ประปาหมู่บ้าน                      8            แห่ง

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

        สภาพป่าไม้ในพื้นที่จะมีสภาพเป็นป่าเขาสูง ป่าทึบ มีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอุทยานแห่งชาติ คือ ที่สาธารณะประโยชน์บางพื้นที่   

  1. ด้านการเมือง/การปกครอง

        2.1 เขตการปกครอง

    ตำบลลาโละ แบ่งการปกครองออกเป็น  9  หมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน

ชื่อสมาชิก อบต.

หมายเหตุ

1

บือแรง

นายมูหัมมะสุกรี  สาแมมะซา

ผู้ใหญ่บ้าน

นายรุสลาน บือราเฮง

 

-

2

บูเกะนากอ

นายมูฮัมหมัดซาวาวี สะและ

ผู้ใหญ่บ้าน

นายอับดุลรอซะ กามา

 

 

3

อีนอ

นายมะลูกิ กาลี

ผู้ใหญ่บ้าน

นายอับดุลรอนิง หะมะ

 

 

4

กูยิ

นายรอซาลี หะยียีเต๊ะ

ผู้ใหญ่บ้าน

นายซอลาฮุดดีน อารี

 

-

5

ลาโละ

นายลายิ  มะมิง

กำนัน

นายมะรอสนิง สาเยาะ

 

 

6

ไอร์บูโละ

นายมะนาเซ ดาบู

ผู้ใหญ่บ้าน

นายอับดุลรอซะ ดือราฮิง

 

 

7

บริจ๊ะ

 

นายอุสมาน  กอเดร์

ผู้ใหญ่บ้าน

นายไซนูดิง บือราเฮง

 

 

8

ไทยสุข

นายมะรอพี  มะแซ

ผู้ใหญ่บ้าน

นายสะรีย์ ยูโซ๊ะ

 

 

9

พงยือติ

นายมะนาวี  ยีมะยี

ผู้ใหญ่บ้าน

นายอีดือเร๊ะ เจ๊ะแว

 

 

         2.2 การเลือกตั้ง

                การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 9 หมู่บ้าน มีผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 1 คน สมาชิกสภาท้องถิ่น หมู่บ้านละ 2 คน รวมเป็น 18 คน

  1. ประชากร

        มีประชากรทั้งสิ้น  10,338  คน  แยกเป็น เพศชาย  5,198  คน  เพศหญิง  5,140  คน มีจำนวนครัวเรือน  2,259  ครัวเรือน

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ประชากรชาย

(คน)

ประชากรหญิง

(คน)

จำนวนระชากร

รวม

จำนวนครัวเรือน

1

บือแรง

452

423

875

197

2

บูเกะนากอ

444

473

917

268

3

อีนอ

500

477

977

192

4

กูยิ

1,049

1,043

2,092

403

5

ลาโละ

718

755

1,473

251

6

ไอร์บูโละ

464

440

904

173

7

บริจ๊ะ

761

749

1,510

416

8

ไทยสุข

471

458

929

224

9

พงยือติ

339

322

661

135

รวม

5,198

5,140

10,338

2,259

 

*ข้อมูล

         ณ  เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2562  ที่มา : ที่ทำการปกครองอำเภอ ฝ่ายทะเบียนและบัตร

  1. สภาพทางสังคม

       4.1  การศึกษา

  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก          จำนวน      1      แห่ง

        -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบริจ๊ะ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ

 

  ระดับประถมศึกษา          จำนวน              5      แห่ง

        -โรงเรียนบ้านบือแรง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง

        -โรงเรียนบ้านอีนอ    ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านอีนอ

        -โรงเรียนบ้านกูยิ      ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ

        -โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ   ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ

        -โรงเรียนชุมชนสัมพันธ์ลาโละ

 

 ศูนย์อบรมจริยธรรม/โรงเรียนตาดีกา จำนวน      10    แห่ง

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านบือแรง

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านบูเกะนากอ

        -โรงเรียนบ้านอีนอ

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านอูยิ

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านรีเย็ง

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านลาโละ

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านไอร์บูโละ

        -โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านบาโง

        -โรงเรียนตาดีกาบ้านพงยือติ

 

โรงเรียนเอกชน (สช.)                      จำนวน      1      แห่ง                 

       

4.2  การสาธารณสุข

                ตำบลลาโละมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูยิ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ โดยรับผิดชอบทั้งหมด 1- 9 หมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มุ่งเน้นการให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันภูมิคุ้มกันโรค การระงับโรคติดต่อ และการวางแผนครอบครัว และอื่นๆ มีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง โดยมี อสม.ประจำหมู่บ้านรับผิดชอบ

4.3  อาชญากรรม

 -        

  4.4  ยาเสพติด

                      ปัญหายาเสพติดมีพื้นที่การเฝ้าระวัง ตั้งแต่หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง – หมู่ที่ 9 บ้านพงยือติ

 

 4.5  การสังคมสงเคราะห์

       องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้

        1.ดำเนินการรับลงทะเบียนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ในพื้นที่

        2.ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ในพื้นที่

        3.ประสานการจัดทำบัตรผู้พิการ

        4.รับลงทะเบียน และประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

  1. ระบบบริการพื้นฐาน

        ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้

        5.1 การคมนาคมขนส่ง

                -ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4060 ระหว่าง อำเภอยี่งอ ถึง อำเภอรือเสาะ

                -ทางหลวงชนบทหมายเลข นธ 4006 ระหว่าง ตำบลลาโละ ถึง อำเภอศรีสาคร

                -ถนนลาดยาง     5     สาย

                -ถนนคอนกรีต    8     สาย

                -หินคลุก/ลูกรัง    6     สาย

                -ทางรถไฟ          1     สาย คือ สถานีลาโละ

        5.2 การไฟฟ้า

                -มีไฟฟ้าเข้าถึงทั้ง 9 หมู่บ้าน

                -มีไฟฟ้าสาธารณะ

        5.3 การประปา

                -มีระบบประปาหมู่บ้าน         จำนวน  8   แห่ง

        5.4 โทรศัพท์

                ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ โดยส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ระบบเคลื่อนที่

                -สถานีโทรคมนาคม AIS      จำนวน   1  แห่ง

                -สถานีโทรคมนาคม DTAC   จำนวน   1  แห่ง

        5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

  1. ระบบเศรษฐกิจ

        6.1 การเกษตร

                -ประชากรตำบลลาโละ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ปลูกพืชไร่ ทำสวน ทำนา ฯลฯ

        6.2 การประมง

                -ในตำบลลาโละไม่มีการทำประมง

        6.3 การปศุสัตว์

                -เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค กระบือ สุกร ฯลฯ

        6.4 การบริการ

                หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ

                        -มีร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดทุกหมู่บ้าน

                        -มีตลาดนัด  จำนวน  3  แห่ง

        6.5 การท่องเที่ยว

                -จากการสำรวจภายในตำบลลาโละมีสถานที่พักพอที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต คือ น้ำตกไอร์ดือลง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

        6.6 อุตสาหกรรม

                -

        6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

                -บริษัท                      -       แห่ง

                -ห้างหุ้นส่วนจำกัด       -        แห่ง

                -ร้านค้า                     102  แห่ง

                -ปั้มน้ำมัน             17    แห่ง

                -ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์      5    แห่ง

                กลุ่มอาชีพ  จำนวน   2  กลุ่ม

                -กลุ่มปักจักร

                -กลุ่มทำขนม

        6.8  แรงงาน

  - ประชากรตำบลลาโละ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่ การทำสวน ทำนา ปลูกพืชไร่ พืชผัก  เลี้ยงสัตว์ สำหรับที่เหลือจะประกอบอาชีพรับจ้าง บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย  ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

  1. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

        8.1 การนับถือศาสนา

                -ประชากรในตำบลลาโละนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 95 % นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ

5 % โดยมีมัสยิด และสุเหร่าเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบงานบุญและพิธีกรรมทางศาสนาภายในตำบลดังนี้

                -วัด/สำนักสงฆ์   1  แห่ง ได้แก่ วัดชนาราม หมู่ที่ 8 บ้านไทยสุข

                -มัสยิด            11 แห่ง ได้แก่ มัสยิดบือแรง, มัสยิดหมู่ที่ 2, มัสยิดหมู่ที่ 3, มัสยิดรีเย็ง,

มัสยิดอูยิ, มัสยิดหมู่ที่ 5, มัสยิดดารุลมุนตาฮา, มัสยิดไอร์บูโละ, มัสยิดหมู่ที่ 7, มัสยิดนัสรียะห์, มัสยิดหมู่ที่ 9

                -บาลาเซาะ       10 แห่ง ได้แก่ บาลาเซาะมาดีเนาะ,บาลาเซาะบาบอ,บาลาเซาะรีเย็ง,บาลาเซาะจาเราะอูยิ,บาลาเซาะหมู่ที่ 5,บาลาเซาะหมู่ที่ 6,บาลาเซาะกาจอปอรี,บาลาเซาะกำปงบารู,บาลาเซาะปะจู,บาลาเซาะกีเยาะ

                รายงานรายได้เฉลี่ยครัวเรือน ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล ปี 2562

 

พื้นที่

จำนวนครัวเรือน

รวม(คน)

รายได้เฉลี่ย(บาท/คน)

หมู่ที่ 1 บ้านบือแรง

197

875

70,902

หมู่ที่ 2 บ้านบูเกะนากอ

268

917

49,990

หมู่ที่ 3 บ้านอีนอ

192

977

49,490

หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ

403

2,092

44,900

หมู่ที่ 5 บ้านลาโละ

251

1,473

43,456

หมู่ที่ 6 บ้านไอร์บูโล๊ะ

173

904

40,243

หมู่ที่ 7 บ้านบริจ๊ะ

416

1,510

39,507

หมู่ที่ 8 บ้านไทยสุข

224

929

38,693

หมู่ที่ 9 บ้านพงยือติ

135

661

37,898

รวม

2,259

10,338

415,079

 

  1. 8. สถานที่ท่องเที่ยวในตำบล

จากการสำรวจภายในตำบลลาโละ มีสถานที่พักที่พอจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต คือ น้ำตกไอร์ดือลง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านกูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส